การบ้าน บทที่4 การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์



1.      สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
                1.สายคู่บิดเกลียว (Twisted – Pair Cable)
        สายคู่บิดเกลียวประกอบด้วยสายทองแดง ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก หลังจากนั้นก็นำสายทั้งสองมาถักกันเป็นเกลียวคู่ เช่น สายคู่บิดเกลียวที่ใช้กับเครือข่ายท้องถิ่น (CAT5) การนำสายมาถักเป็นเกลียวเพื่อช่วยลดการแทรกแซงจากสัญญาณรบกวน
สายคู่บิดเกลียวมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์และแบบมีชิลด์

            สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์ (Unshielded
Twisted –Pair Cable :UTP
 นิยมใช้งานมากในปัจจุบันมีลักษณะคล้ายกับสายโทรศัพท์บ้านไม่มีการหุ้มฉนวนมีแต่การบิดเกลียวอย่างเดียว

               สายคู่บิดเกลียวแบบมีชิลด์ (Sehilded Twisted –Pair Cable :STP)
สำหรับสายSTP คล้ายกับสาย UTP แต่สาย STP จะมีชิลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง

ทำให้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าสาย UTP
ข้อดี
ราคาถูก
มีน้ำหนักเบา
ง่ายต่อการใช้งาน
ข้อเสีย
มีความเร็วจำกัด
ใช้กับระยะทางสั้นๆ
2.สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
          สายมักทำด้วยทองแดงอยู่แกนกลาง ซึ่งสายทองแดงจะถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติก จากนั้นก็จะมีชิลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน และหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่งป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดี สายโคแอกเชียลที่เห็นได้ทั่วๆไป คือ สายที่นำมาใช้ต่อเข้ากับเสาอากาศทีวีที่ใช้ตามบ้าน



ข้อดี
 เชื่อมต่อได้ในระยะไกล
ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย
มีราคาแพง
 สายมีขนาดใหญ่
ติดตั้งยาก

3.สายไฟเบอร์ออปติค(Optical Fiber)
        สายไฟเบอร์ออปติคหรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่มีลักษณะโปร่งแสง มีรูปทรงกระบอกในตัวขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์แต่มีขนาดเล็ก
สายไฟเบอร์ออปติค แบ่งเป็น 3 ชนิด
·     Multimode step –index fiber จะสะท้อนแบบหักมุม
·     Multimode graded –index มีลักษณะคล้ายคลื่น
·     Single mode fiber เป็นแนวตรง
ข้อดี
มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา
มีความปลอดภัยในการส่งข้อมูล
 มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย
 เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป
การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

2.      การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไร


การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่าย
โดยผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะดึงข้อมูลจากส่วนกลาง หรือข้อมูลจากผู้ใช้คนอื่นมาใช้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เหมือนกับการดึงข้อมูลมาใช้จากเครื่องของตนเอง และนอกจากดึงไฟล์ข้อมูลมาใช้แล้ว ยังสามารถคัดลอกไฟล์ไปให้ผู้อื่นได้อีกด้วย




ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายนั้น ถือว่าเป็นทรัพยากรส่วนกลางที่ผู้ใช้ในเครือข่ายทุกคน สามารถใช้ได้โดยการสั่งงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของ     ตัวเองผ่านเครือข่ายไปยังอุปกรณ์นั้น เช่น มีเครื่องพิมพ์ส่วนกลางในเครือข่าย เป็นต้น ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วย

ทำงานประสานกันเป็นอย่างดี
ก่อนที่เครือข่ายจะเป็นที่นิยม องค์กรส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์ ในการจัดการงาน และข้อมูลทุกอย่างในองค์กร แต่ปัจจุบันองค์กรสามารถกระจายงานต่าง ๆ ให้กับหลาย ๆ เครื่อง แล้วทำงานประสานกัน เช่น การใช้เครือข่ายในการจัดการระบบงานขาย โดยให้เครื่องหนึ่งทำหน้าที่จัดการการเกี่ยวกับใบสั่งซื้อ อีกเครื่องหนึ่ง
เรียกข้อมูลจากบ้านได้
เครือข่ายในปัจจุบันมักจะมีการติดตั้งคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากระยะไกล เช่น จากที่บ้าน โดยใช้ติดตั้งโมเด็มเพื่อใช้หมุนโทรศัพท์เชื่อมต่อ เข้ากับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย

ช้ทรัพยากรร่วมกันได้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายนั้น ถือว่าเป็นทรัพยากรส่วนกลางที่ผู้ใช้ในเครือข่ายทุกคน สามารถใช้ได้โดยการสั่งงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของ     ตัวเองผ่านเครือข่ายไปยังอุปกรณ์นั้น เช่น มีเครื่องพิมพ์ส่วนกลางในเครือข่าย เป็นต้น ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วย


ใช้โปรแกรมร่วมกัน

ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะรันโปรแกรมจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง เช่น โปรแกรม Word, Excel, Power Point ได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องจัดซื้อโปรแกรม สำหรับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อ และยังประหยัดเนื้อที่ในหน่วยความจำด้วย

ติดต่อสื่อสารสะดวก รวดเร็ว

เครือข่ายนับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ได้เป็นอย่างดี ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล กับเพื่อนร่วมงานที่อยู่คนละที่ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว

เรียกข้อมูลจากบ้านได้
เครือข่ายในปัจจุบันมักจะมีการติดตั้งคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากระยะไกล เช่น จากที่บ้าน โดยใช้ติดตั้งโมเด็มเพื่อใช้หมุนโทรศัพท์เชื่อมต่อ เข้ากับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย


3. หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย(LAN Topology)      
แบบใดเพราะอะไร
โทโปโลยีแบบบัส (BUS) 
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น 
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้ 
ข้อดี 
  - ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก 
ข้อเสีย 
 - อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย 
 - การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้ 

4.      อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร
อีกกลุ่มเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะไม่ส่งผลกระทบในทางลบขนาดนั้น  แต่กลับมองว่าเป็นโอกาสอันดีที่ 
จะใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตเพื่อขยายขอบเขตของมหาวิทยาลัยสู่กลุ่มคนที่ใหญ่ขึ้นได้ van Vught (1997) 
เชื่อว่า information technology จะเข้ามาช่วยให้การเรียนการสอนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  แต่จะไม่สามารถ 
เข้ามาแทนที่การมีโรงเรียนและมหาวิทยาลัยได้   โรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะยังคงมีอยู่ในระบบการศึกษาแต่ก็ ยอมรับกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  จากเดิมที่เป็นห้องเรียนมีผนังล้อมรอบก็จะเป็น school without wall  และเปลี่ยนจากการเรียนการสอนแบบบรรยายในชั้นเรียนมาเป็นแนวการเรียนการสอนแบบกระตุ้นให้เรียน และค้นคว้าเป็นทีม (stimulate team-based learning) 
            ประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา คือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข่าวสาร 
ข้อมูลต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ปัจจุบัน มี web site ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย  แต่ละ web site ก็ให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ  รูปแบบระบบห้องสมุดก็มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเป็น digital library ที่มี 
หนังสือในเรื่องต่างๆเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้อ่านและค้นคว้าได้ online   การใช้ email ช่วยให้การติดต่อข่าวสาร 
ระหว่างนักวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ล่าช้าเหมือนแต่ก่อน  ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง 
นักวิชาการในสาขาเดียวกันทั่วโลกเป็นไปได้   การเรียนแบบ online ยังช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ตามขีด 
ความสามารถของตนเอง  ใครมีความสามารถมากก็เรียนได้เร็วกว่า  นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้อง 
ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นผ่านการใช้ email หรือ discussion group 
ด้านการศึกษา 
          - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ 
          - ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ 
          - นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น