การบ้าน บทที่ 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์


1.      ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  แบ่งได้ 3วิธี ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล
     เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อให้สะดวกต่อการประมวลผล ซึ่งมี 4 วิธี
          1.1 การลงรหัส
          1.2 การตรวจสอบ
          1.3 การจำแนก
          1.4 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
2. ขั้นตอนการประมวลผล คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น  มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
          2.1 การคำนวณ
          2.2 การเรียงลำดับข้อมูล
          2.3 การสรุป
          2.4 การเปรียบเทียบ
3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์  เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ  อาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ 

2.      จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
 บิต(BIT)        หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล เลขฐาน 2 คือ 0,1
ไบต์(Byte) ได้แก่ ตัวอักษร เป็นการนำเอาบิตมารวมกัน โดย 8 bit =  1 Byte การนำบิตมารวมกัน เรียกว่า ตัวอักขระ,ตัวอักษร
ฟิลด์(Field)     การนำไบต์หลาย ๆ ไปมารวมกัน เรียกว่า เขตข้อมูล
เรคอร์ด (Record) การนำฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์มารวมกัน เรียกว่า ระเบียน
ไฟล์(File) การเรคอร์ดหลาย ๆ เรคอร์ดมารวมกัน เรียกว่า แฟ้มข้อมูล
ฐานข้อมูล (Database) การนำไฟล์หลาย ๆ ไฟล์มารวมกัน   เรียกว่า ฐานข้อมูล
3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร
ในหน่วยงานของดิฉัน มีการนำฐานข้อมูลในการผลิต มาใช้เช่น
-มีแฟ้มข้อมูลในการสั่งวัตถุดิบ
-แฟ้มวัตถุดิบที่ถูกใช้อยู่ในกระบวนการต่างๆ
-แฟ้มข้อมูลวัตถุดิบคงเหลือ
-ในการขายสินค้าสำเร็จรูป
-แฟ้มข้อมูลในการสั่งซื้อสินค้า
ฐานข้อมูลที่กล่าวมานี้มีประโยชน์
-ในการเรียกดูข้อมูลวัตถุดิบว่าเหลืออยู่จำนวนเท่าไหร่ ต้องสั่งเพิ่มอีกเท่าไหร่
-เรียกดูข้อมูลการขาย ว่าสินค้าชนิดใดถูกสั่งมาก เพื่อที่จะสั่งวัตถุดิบนั้นเพิ่มขึ้น

4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบทช์และแบบเรียลไทม์
การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing)
รวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์
ทำการประมวลผลครั้งเดียวจะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การรับข้อความ SMS
วิธีการประมวลผลแบบเวลาจริง  ( Real Time Processing
การประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันที
แสดงผลข้อมูลทันทีทันใด โดยแสดงผลทาง Output
เช่น การใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่าง ๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น